การใช้โปรแกรม OBS

สำหรับโปรแกรม OBS นี้จำเป็นต้องใช้ DirectX ร่วมด้วย

คลิก >>>> โหลด DirectX
คลิก >>>> คู่มือการใช้โปรแกรม OBS
 1. ทำคลิปสอนจาก PowerPoint แบบเห็นหน้าผู้สอน ด้วย 
     ทำคลิปสอนจาก PowerPoint แบบเห็นหน้าผู้สอน ด้วย OBS

2. ใช้กล้องถ่ายรูป แทน webcam ร่วมกับ OBS ทำสื่อการสอน

3. การเชื่อมต่อ IPAD+Mac+OBS ทำคลิปสื่อการสอน 
    ทั้งแบบไร้สายและแบบมีสาย
แบบทดสอบหลังเรียน

ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 
รายวิชา โปรแกรมภาษาเชิงวัตถุ รหัสวิชา ว32251 
ผ่านทาง Google Form ด้านล่างนี้
















***************************************

คะแนนสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง การทำงานของโปรแกรมเชิงวัตถุ

ห้อง 5/6

ห้อง 5/7

ห้อง 5/8

ห้อง 5/9

ห้อง 5/10

ห้อง 5/11

ห้อง 5/12


คะแนนสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 

เรื่อง โครงสร้างและโปรแกรมแบบลำดับ

ห้อง 5/6

ห้อง 5/7

ห้อง 5/8

ห้อง 5/9

ห้อง 5/10

ห้อง 5/11

ห้อง 5/12



คะแนนสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เรื่อง ประพจน์และการเชื่อมประพจน์


ห้อง 5/6

ห้อง 5/7

ห้อง 5/8

ห้อง 5/9

ห้อง 5/10

ห้อง 5/11

ห้อง 5/12

คะแนนสอบแบบสุ่ม(อัตนัย)

เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบลำดับ


ห้อง 5/6

ห้อง 5/7

ห้อง 5/8

ห้อง 5/9

ห้อง 5/10

ห้อง 5/11

ห้อง 5/12



คะแนนสอบกลางภาค

ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2564





แบบทดสอบก่อนเรียน

ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน 
รายวิชา โปรแกรมภาษาเชิงวัตถุ รหัสวิชา ว32251 
ผ่านทาง Google Form ด้านล่างนี้







     การใช้งาน Google Drive 

     Google Drive เป็นบริการจาก Google ที่ทำให้เราสามารถนำไฟล์ต่าง ๆ ไปฝากไว้กับ Google ผ่านพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์และการสำรองข้อมูลไฟล์ที่มีความปลอดภัย ทำให้เราสามารถใช้ไฟล์เหล่านั้นที่ไหนก็ได้และยังสามารถแบ่งปัน (แชร์) ไฟล์กับคนที่ต้องการ และสามารถแก้ไขร่วมกันได้จากอุปกรณ์หลายประเภท เช่น อุปกรณ์มือถือ อุปกรณ์แทปเลต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Google ให้เราใช้บริการฟรีแบบ Unlimited (สำหรับโครงการ Google for Education)


ขั้นตอนการใช้งาน
   การใช้งาน ZOOM Cloud Meetings

     Zoom Cloud Meeting บริการประชุมออนไลน์ ที่สามารถจัดประชุมออนไลน์หรือจัดคอร์สสอนออนไลน์ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว เข้าร่วมประชุมได้จากทุกที่และทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนรองรับทุกความต้องการของผู้ใช้งานได้ครบ

คุณสมบัติของ Zoom Cloud Meeting
     1. เข้าใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม
     2. รองรับการใช้งานผ่านมือถือสามาร์ทโฟน โดยใช้แอปพลิเคชั่น 
         Zoom Cloud Meetings ทั้งในระบบ iOS และ  Android 
     3. สามารถแสดงผลผู้เข้าร่วมประชุม/เข้าเรียน พร้อมกันหลาย ๆ
         คนได้     
     4. สามารถแชร์หน้าจอส่วนตัว ไฟล์เอกสาร สไลด์นำเสนอ 
         ระหว่างการประชุม/การสอนได้
     5. เข้าร่วมการประชุม/การเรียนได้รวดเร็วเพียงกรอก 
         Meeting ID หรือ Join URL 

ข้อจำกัด (แบบ Basic Free) รองรับผู้เข้าร่วมประชุม/ผู้เรียน (Video conference) สูงสุด 100 คน และจำกัดเวลาการประชุม/การสอน แบบกลุ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ไม่เกิน 40 นาที (เมื่อหมดเวลาการประชุม/การสอน สามารถสร้างการประชุม/การสอนใหม่)



     การใช้งาน Google Meet

     Google Hangouts Meet เป็นการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอลลักษณะการประชุมภายในองค์กรหรือสามารถประชุมภายนอกได้เช่น กันถ้ามีรายชื่อ email โดย Hangout Meet สามารถทำงานร่วมกับ Application อื่น ๆ ได้

คุณสมบัติของ Google Meet
1. Google Meet เปิดให้บัญชีอีเมล xxx@rmutsb.ac.th ทุกคนสามารถใช้งานได้ (ทางมหาวิทยาลัยใช้บริการ G Suite for Education)
(ในช่วง มีนาคม  2563 - 30 กันยายน 2563 Google Meet อนุญาตให้ใช้ฟีเจอร์ระดับ Enterprise ให้กับผู้ใช้ G Suite ทุกราย)
2. เข้าใช้งานผ่านเบราว์เซอร์ Google Chrome ได้โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม
3. รองรับการใช้งานผ่านมือถือสามาร์ทโฟน ผ่านแอปพลิเคชั่น Hangouts Meet ทั้งในระบบ iOS และ  Android
4. สามารถแชร์หน้าจอส่วนตัว ไฟล์เอกสาร สไลด์นำเสนอ ระหว่างการประชุม/การสอนได้
5. ไม่จำกัดเวลาการประชุม/การสอน
6. เข้าร่วมการประชุม/การเรียนได้รวดเร็วเพียงกรอก Meeting ID หรือ Join URL
7. รองรับผู้เข้าร่วมประชุม/เข้าเรียน (Video conference) สูงสุด 250 คน (ถึง 30 กันยายน 2563)
8. สามารถสตรีมถ่ายทอดการประชุม/การสอนทางวิดีโอแบบสด (Live Stream) ได้ถึง 100,000 คน (ถึง 30 กันยายน 2563)
9. สามารถบันทึกการประชุม/การสอนไปยัง Google Drive (ถึง 30 กันยายน 2563)

ข้อจำกัด (เมื่อกลับสู่บริการ G Suite for Education) รองรับผู้เข้าร่วมประชุม/ผู้เรียนสูงสุด 100 คน ไม่สามารถสตรีมถ่ายทอดทางวีดีโอแบบสด และไม่สามารถบันทึกการประชุม/การสอนไปยัง google drive ได้


คลิก >>>> คู่มือการใช้งาน Google Meet
คลิก >>>> ขั้นตอนการใช้งาน
คลิก >>>> Optionการใช้งาน
คลิก >>>> ขั้นตอนการทำให้เห็นผู้เข้าร่วมประชุมหลายคน

การใช้งาน Google Meet

การใช้งาน Google Hangout Meet บน Smart Phone
วิทยาการคำนวณ คือ


วิทยาการคำนวณ (Computing Science)

     ปัจจุบันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือ ช่วยในการทำงาน การศึกษา การเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ผ่านมาอาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ต้องมีพื้นฐานความรู้และทักษะเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงหรือพัฒนานวัตกรรม และใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการสร้างองค์ความรู้หรือสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์
       สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 จึงได้ปรับเปลี่ยนหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่หลักสูตรวิทยาการคำนวณ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะการคิดเชิงคำนวณ  และเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

วิทยาการคำนวณ (Computing science) คืออะไร ?
        วิทยาการคำนวณ (Computing science) เป็นวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้เด็กสามารถคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) มีความพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital technology) และมีพื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (Media and information literacy) ซึ่งการเรียนวิชาการคำนวณ จะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์เท่านั้น และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดในศาสตร์ของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะเป็นกระบวนการความคิดเชิงวิเคราะห์เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของมนุษย์ โดยเป็นการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานและช่วยแก้ไขปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ มีเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียนกล่าวคือเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะในการค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา เสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบมีจริยธรรม
       ซึ่งในระดับชั้นชั้นมัธยมตอนต้นจะเป็นการเรียนการสอนที่เน้นการออกแบบและการเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อเป็นการฝึกแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ไปพร้อม ๆ กัน ส่วนในระดับชั้นมัธยมตอนปลาย จะเป็นการประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ เพื่อนำไปใช้ในการบูรณาการกับโครงานวิชาอื่น ๆ อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ขอบเขตของวิชาวิทยาการคำนวณมีอะไรบ้าง?
การกำหนดขอบเขตการเรียนการสอนของวิชาวิทยาการคำนวณมี 3 องค์ความรู้ ดังนี้
1. การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์ สามารถใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิดได้ โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่างๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

2. พื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (digital technology) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

3. พื้นฐานการรู้เท่าทันสื่อและข่าวสาร (media and information literacy) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่างๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยมากที่สุด


สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มีอะไรบ้าง ?
       ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณนั้นผู้เรียนจะต้องมีองค์ความรู้ ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้
       สาระการเรียนรู้เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และมีทักษะการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดสาระสำคัญดังนี้
       วิทยาการคอมพิวเตอร์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ การใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การบูรณาการกับวิชาอื่น การเขียนโปรแกรมการคาดการณ์ผลลัพธ์ การตรวจหาข้อผิดพลาด การพัฒนาแอปพลิเคชันหรือพัฒนาโครงงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง
       เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การประเมินผลการนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง การค้นหาข้อมูลและแสวงหาความรู้บนอินเทอร์เน็ต การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การเลือกใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ต ข้อตกลงและข้อกำหนดในการใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสาร
      การรู้ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย การจัดการอัตลักษณ์ การรู้เท่าทันสื่อ กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การใช้ลิขสิทธ์ิของผู้อื่นโดยชอบธรรมนวัตกรรมและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการดำเนินชีวิต อาชีพสังคม และวัฒนธรรม
          จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า วิทยาการคำนวณเป็นรายวิชาพื้นฐานในกลุ่มสาระการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียนให้ใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณสามารถคดิ วิเคราะห์ แก้ปัญหา อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูล หรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหาประยุกต์ใช้ความรู้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงและทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทัน มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

การสร้าง Account Gmail

Blogger หมายถึง

          Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้ง 2 คำ บ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog) โดยคำว่า weblog นั้นมาจาก web (เวิลด์ไวด์เว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) ซึ่งรวมกันหมายถึง “ปูมเว็บ” หรือ บันทึกบนเวิล์ดไวด์เว็บ นั่นเอง หรือ ถ้าจะขยายความมากไปกว่านั้น Blog ก็จะหมายถึง การบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ มีการจัดเรียง “เรื่อง” หรือ post เรียงลำดับ โดยเรื่องใหม่จะอยู่ด้านบนสุด ส่วนเรื่องเก่าก็จะอยู่ด้านล่างสุด ซึ่งจะมีวันที่-เวลาเขียนกำกับไว้ เป็นที่นิยมกันในหมู่มาก

          มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นแค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลาย และครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างไดอารี่ จนถึงการบันทึกบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องธุรกิจ เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อก เป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ มีการสื่อสารกับผู้อ่านผ่านทางระบบ comment และมีการถ่ายทอดอย่างเป็นกันเอง โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็เขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะเช่นเพื่อน หรือคนในครอบครัว Blog ให้ อิสระในการเขียนเรื่องอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้เขียน โดยจะสะท้อนบุคลิกของผู้เขียนออกมา ถ้าคนไหนเป็นคนตลก ก็จะเขียนออกมาได้สนุกสนาน น่าอ่าน, ใครชอบเลี้ยงสุนัขจะเล่าเรื่องสุนัขของตัวเอง เป็นต้น Blog มีทั้งบริการแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการให้บริการ ซึ่งมักจะติดตั้ง Tool ให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากนัก

Blogger สามารถแปลได้ 2 ความหมายคือ
          1. คนเขียนบล็อก หรือเจ้าของบล็อกนั่นเอง
          2. ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง
ซึ่งสามารถประเภทจำแนกได้คร่าวๆ ดังนี้

          1. บล็อกเกอร์อิสระ นักเขียนบล็อกประเภทนี้จะเขียนบล็อกของตัวเอง โดยจำกัดบล็อกของตัวเองไว้ว่าเป็นบล็อกส่วนตัว สำหรับเขียนเรื่องราวส่วนตัว หรือความคิดส่วนตัว โดยไม่ได้นำเสนอบล็อกของตัวเองเพื่อการอย่างอื่น นอกจากการชมเพื่อความบันเทิง, ความสนุกในหมู่เพื่อนฝูง

          2. บล็อกเกอร์แนวธุรกิจ นักเขียนบล็อกกลุ่มนี้ มักจะเขียนเนื้อหาของ blog ที่เป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการของตน คือใช้ blog เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดนั่นเอง

          3. บล็อกเกอร์แบบองค์กร บล็อกเกอร์กลุ่มนี้ จะใช้ blog เพื่อเป็นการสื่อสารภายใน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กร เช่นภายในบริษัท หรือใช้สื่อสารภายในทีมฟุตบอล หรือสโมสรต่างๆ

          4. บล็อกเกอร์มืออาชีพ บล็อกเกอร์ที่เขียนบล็อกอย่างเดียว โดยมีรายได้จากบล็อกเพื่อยังชีพ บางคนได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือน ให้เขียนบล็อกอย่างเดียว บางคนเขียนบล็อกของตัวเอง โดยได้รับค่าโฆษณาต่างๆ จากผู้สนับสนุน กลุ่มนี้อาจเป็นบริษัทที่เขียนบล็อกโดยเฉพาะ ที่เห็นชัดเจนก็คือ blogger ชาวต่างประเทศ เพราะเขียนให้คนอ่านมากๆ แล้วใช้โฆษณาของ Google Adsense มาติดไว้ บางคนมีก็รายได้จากการเป็น presenter ให้สินค้าต่างๆ

การสร้างเว็บบล็อกด้วย www.blogger.com 
มีทั้งหมด 12 ตอน

1.การเข้าระบบ -กำหนดภาษา -ตั้งค่าต่างๆ
2.เริ่มสร้าง และการตั้งค่าต่างๆ
3.แม่แบบ 
4.การจัดการรูปแบบ แนะนำส่วนต่างๆ Favicon Head Footter
5.การทำเว็บลิงค์ด้วย Gadget 
6.การแทรกรูปภาพด้วยการใช้ Gadget
7.จำนวนการดูหน้าเว็บรวม (สถิติ)
8.แทรก iframe เพื่อนำข่างจากเว็บไซต์อื่นมาแสดง
9.หน้าเว็บ -สร้างหน้า หน้าเว็บ ประวัติ ผลงาน (แทรกภาพ)
  แกตเจ็ตหน้าเว็บ (เมนู) ด้านข้าง แถบ Cross-Column
10.เพิ่มเนื้อหาในหน้าเว็บ 
    แทรกลิงค์ ไฟล์จาก google drive วิดีโอ ในหน้าเว็บ
11.ข่าว/บทความ
12.การย้าย ลบ Gadget

การสร้างแบบทดสอบออนไลน์ด้วย Google Forms

คลิก>>>> การสร้างแบบทดสอบออนไลน์ด้วยGoogle Forms